การลบโดยไม่มีการกระจาย

อุปกรณ์                    

  • ชุดอุปกรณ์ลูกปัดสีทองไม่จำกัดจำนวน
  • บัตรจำนวน(ใหญ่) 1 ชุด
  • บัตรจำนวนเล็ก 4 ชุด
  • ผ้าสำหรับปูรองโต๊ะ
  • ถาดที่มีผ้าปูรองและถ้วยหรือภาชนะสำหรับใส่เม็ดลูกปัดหลักหน่วย

จุดประสงค์                              

เพื่อให้เด็กเข้าใจความหมายของการลบจากรูปธรรม

กลไกควบคุมความผิดพลาด      

ถาดสำหรับใส่จำนวนที่ต้องลบออก แยกไว้อีกที่หนึ่ง

คำศัพท์ที่ได้                             

ลบ ตัวตั้ง ตัวลบ ผลต่าง ผลลัพธ์

ข้อเสนอแนะ                              

กิจกรรมกลุ่ม (เด็กเพียงคนเดียวที่จะทำกิจกรรมการลบ)

               จัดอุปกรณ์ลูกปัดสีทองไว้โต๊ะหนึ่งสำหรับเป็นธนาคารจัดเรียงบัตรจำนวนทั้งใหญ่และเล็กไว้ที่อีก  โต๊ะหนึ่งและจัดอีกโต๊ะหนึ่งไว้สำหรับทำกิจกรรมการลบ ครูตั้งโจทย์ เช่น 6494 – 1251 ครูจัดลูกปัดสีทองตามจำนวนตัวตั้ง (6494) และบัตรจำนวน เรียงไว้บนโต๊ะ สำหรับการคำนวณ

               จากนั้นเอาถาด สำหรับใส่จำนวนที่ต้องลบหรือต้องหักออก พร้อมบัตรจำนวนเล็กที่แสดงจำนวนที่ต้องการลบเรียงไว้ในถาดให้เด็ก จากนั้นให้เด็กเลือกหยิบลูกปัดสีทอง จากกองของจำนวนตัวตั้ง ออกใส่ถาดตามจำนวนตัวลบที่ระบุไว้ตามบัตรจำนวนจากนั้นให้เด็กอีกคนหนึ่งนับจำนวนลูกปัดสีทองที่เหลืออยู่บนโต๊ะโดยเริ่มนับจากหลักหน่วยก่อน เมื่อนับได้หนึ่งหลักก็ให้เด็กหาบัตรจำนวน(เล็ก)ที่ตรงกันมาวางไว้ด้านล่างลูกปัด ส่วนจำนวนลูกปัดที่เอาออกนั้นยังคงให้เก็บไว้ในถาด เพื่อตรวจคำตอบอีกครั้ง และขั้นตอนสุดท้าย ให้อธิบายกับเด็กว่า เรามีจำนวนตั้งคือ 6494  หักออก 1251 จะเหลืออยู่ 5243 ซึ่งเรียกว่าผลต่างหรือผลลัพธ์